หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2559

บึงพลาญชัย

สิบเอ็ดประตูเมืองงาม

เรืองนามพระสูงใหญ่

ผ้าไหมสาเกต

บุญผะเหวดประเพณี

มหาเจดีย์ชัยมงคล
งามน่ายลบึงพลาญชัย เขตกว้างไกลทุ่งกุลา

โลกลือชาข้าวหอมมะลิ

บึงพลาญชัย




          
 ตั้งอยู่บริเวณกลางเมืองร้อยเอ็ด ถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัด ลักษณะเป็นเกาะอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่ มีเนื้อที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ ตกแต่งด้วยสวนไม้ดอกขนาดใหญ่ มีพันธุ์ไม้ต่าง ๆ ร่มรื่น และในบึงน้ำมีปลาชนิดต่าง ๆ หลายพันธุ์ นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่จัดงานเทศกาลของจังหวัด รวมทั้งจัดมหรสพต่าง ๆ
         
 ภายในบึงพลาญชัยยังมีสิ่งก่อสร้างที่น่าสนใจคือ ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นของคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวร้อยเอ็ดเคารพนับถือ และเชื่อว่าเจ้าพ่อจะช่วยดลบันดาลให้ชาวเมืองมีความสุข คิดสิ่งใดสมปรารถนา จึงเป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ชาวเมืองร้อยเอ็ด มากราบนมัสการขอพรเป็นประจำ พระพุทธรูปปางลีลาขนาดใหญ่ กลางสวนดอกไม้ พานรัฐธรรมนูญ นาฬิกาดอกไม้ ภูพลาญชัย มีลักษณะเป็นน้ำตกจำลอง และรูปปั้นสัตว์ต่าง ๆ คล้ายสวนสัตว์ สนามเด็กเล่น และสวนสุขภาพ เป็นสวนออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนได้ออกกำลังกาย อันเป็นการเสริมสร้างพลานามัยแก่ชาวร้อยเอ็ด

     สิ่งก่อสร้างต่างๆในบึงพลาญชัย




เกาะกลางบึงมีลักษณะคล้ายกับแผนที่ประเทศไทย


      ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง จ.ร้อยเอ็ด

น้ำตกจำลองและสวนสัตว์จำลองภายในบึงพลาญชัย


สนามเด็กเล่น






น้ำพุดนตรี


       นอกจากนี้แล้วบึงพลาญชัยยังเป็นสถานที่ออกกำลังกายสำคัญของคนในจังหวัดร้อยเอ็ด   อีกด้วย โดยเวลาออกกำลังที่คนส่วนมากชอบมาคือช่วงเวลาระหว่าง 05.00-07.30 น.และเวลา 17.00-20.00 น. โดยจะมีผู้คนมากมายมาออกกำลังที่บริเวณนี้ไม่ว่าจะเป็น นักเรียน นักศึกษา กระทั่งผู้สูงอายุ ก็นิยมมายังบึงพลาญชัยเพื่อมาออกกำลังกาย โดยการออกกำลังกายหลักๆที่คนนิยมกันก็คือ การวิ่งรอบบึงที่มีระยะทางระหว่างรอบประมาณ 1.3 กิโลเมตร นอกจากนนี้ยังมีการเล่น บาสเกตบอล แบดมินตัน เตะฟุตซอล และเต้นแอโรบิค ในบริเวณเกาะกลางบึงพลาญชัยอีกด้วย 


บึงพลาญชัยยังมีอีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดนั่นคือ ประตูเมืองสาเกตนคร 1 ใน 11 ประตูเมืองโบราณของเมืองสาเกตนคร(ชื่อเดิม จ.ร้อยเอ็ด)         
ประตูเมืองสาเกตนคร เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดร้อยเอ็ด ประตูเมืองสาเกตนครตั้งอยู่บริเวณด้าน หน้าบึงพลาญชัย อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด โดยจำลองเอาประตู เมืองสาเกตนคร ตามสมัยโบราณซึ่งตอนนั้นมีความเจริญรุ่งเรืองอย่างยิ่งมาเป็นแบบในการก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2541  สร้างขึ้นที่ถนนสุนทรเทพ ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบึงพลาญชัย เปิดใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2542

 ประตูเมืองสาเกตนคร สร้างขึ้นเพื่อเป็นประตูเมือง และเป็นประตูเข้าเมืองสีพี ของกัณฑ์ที่ 10 (นครกัณฑ์) ในงานประเพณีบุญผะเหวดร้อยเอ็ด ซึ่งจำลองมาจากใบเสมาหินที่เมืองฟ้าแดดสงยาง อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ ตัวอักษรสองด้านเขียนด้วยอักษรไทยน้อย และไทยใหญ่ อ่านว่า สาเกตนคร





       ภาพของประตูสาเกตนคร

บึงพลาญชัยยังเป็นสถานที่จัดงานสำคัญของต่างๆของจังหวัดร้อยเอ็ดไม่ว่าจะเป็น ประเพณีบุญผะเหวด  ประเพณีลอยกระทง ประเพณีสงกรานต์ เป็นต้น

ประเพณีบุญผะเหวดซึ่งจัดขึ้น ณ บริเวณหน้าบึงพลาญชัย






งานสมมาน้ำคืนเพ็ง เส็งประทีป ที่จัดภายในบริเวณบึงพลาญชัย






ประเพณีงานแห่เทียนพรรษา

 ปัจจุบันบึงพลาญชัยอยู่ระหว่างการปรับปรุงภูมิทัศน์ให้สวยงามมากขึ้น








                                     สิ่งที่จะเกิดขึ้นหลังจากปรับปรุงเสร็จ



ข้อมูลเพิ่มเติม : 
ที่อยู่ : ถนนสุริยเดชบำรุง ซอย 2 ตำบลในเมือง  อำเภอเมือง  จังหวัดร้อยเอ็ด  45000

เวลาเปิด-ปิด : 7.00 - 20.00 นาฬิกา

การเดินทาง : 








ขอขอบคุณภาพประกอบและข้อมูลบางส่วนจากจาก www.google.com, https://th.wikipedia.org , http://www.tatcontactcenter.com/ 

ประวัติบึงพลาญชัย




ริเวณที่ตั้งจังหวัดร้อยเอ็ดในปัจจุบัน เดิมชื่อว่า เมืองสาเกตนคร หรือ อาณาจักรกุลุนทะนคร มีเจ้าผู้ครองนครเรียกว่า พระเจ้ากุลุนทะ เมืองสาเกตเป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองมาก ซึ่งมีเมืองขึ้นถึง 11 เมือง จากหลักฐานโบราณคดีก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งกระจายอยู่ทั่วไปในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด ได้ขุดพบแหล่งโบราณคดีบ้านเมืองบัว สันนิษฐานว่ามีอายุประมาณ 1,800-2,500 ปีมาแล้ว ต่อมาอิทธิพลของพุทธศาสนา ภายใต้วัฒนธรรมทวารวดีได้แผ่ขยายเข้ามาเมื่อปลาย พุทธศตวรรษที่ 12-15 มีหลักฐานที่สำคัญ เช่น กลุ่มใบเสมาบริเวณหนองศิลาเลข ในเขตอำเภอพนมไพร พระพิมพ์ดินเผาปางนาคปรกที่เมืองไพร ในเขตอำเภอเสลภูมิ คูเมืองร้อยเอ็ด เจดีย์เมืองหงษ์ในเขตอำเภอจตุรพักตรพิมาน



          ในพุทธศตวรรษที่ 16 วัฒนธรรมจากอาณาจักรขอมได้แพร่เข้ามา ปรากฏหลักฐานให้เห็นอยู่มาก เช่น ปรางค์กู่กาสิงห์ ในเขตอำเภอเกษตรวิสัย ปรางค์กู่ในเขตอำเภอธวัชบุรี กู่พระโกนาในเขตอำเภอสุวรรณภูมิ และประติมากรรมที่เป็นรูปเคารพทางศาสนา ที่เป็นเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันที่ ทำจากหินทรายและโลหะเป็นจำนวนมาก แต่หลักฐานเกี่ยวกับเมืองร้อยเอ็ดขาด หายไปประมาณ 400 ปี จนถึงประมาณปี พ.ศ. 2231 เมืองเวียงจันทน์เกิดความไม่สงบ พระครูโพนสะเม็ด พร้อมผู้คนประมาณ 3,000 คน ได้เชิญเจ้าหน่อกษัตริย์อพยพลงมาตามแม่น้ำโขง แล้วมาตั้งมั่นอยู่ที่บริเวณเมืองจำปาศักดิ์ ผู้ปกครองเมืองจำปาศักดิ์มีความเลื่อมใสศรัทธาในพระครูโพนสะเม็ด จึงได้นิมนต์ให้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาและปกครองเมืองจำปาศักดิ์

          
ต่อมาเจ้าหน่อกษัตริย์ได้รับสถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์พระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทร พุทธางกูร ได้ขยายอิทธิพลไปในดินแดนต่าง ๆ เหนือสองฝั่งแม่น้ำโขง ได้ตั้งเมืองใหม่ขึ้นหลายแห่งและส่งบริวารไปปกครอง เช่น เมืองเชียงแตง เมืองสีทันดร เมืองรัตนบุรี เมืองคำทอง เมืองสาละวัน และเมืองอัตตะปือ เป็นต้น


        
  ในปี พ.ศ. 2450 เมืองร้อยเอ็ดได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นบริเวณร้อยเอ็ด โดยแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 5 เมือง คือ เมืองร้อยเอ็ด เมืองสุวรรณภูมิ เมืองมหาสารคาม เมืองกมลาไสย และเมืองกาฬสินธุ์ ในปี พ.ศ. 2453 สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย ทรงเห็นด้วยกับข้อเสนอของเทศาภิบาลข้าหลวงมณฑลอีสานว่า ควรแยกมณฑลอีสานออกเป็น 2 มณฑล คือ มณฑลอุบลราชธานีและมณฑลร้อยเอ็ด พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวก็ได้โปรดเกล้าฯ ให้เป็นไปตามที่เสนอ มณฑลร้อยเอ็ดจึงมีเขตปกครอง 3 จังหวัด คือ จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดมหาสารคาม และจังหวัดกาฬสินธุ์


          ในปี พ.ศ. 2469 อำมาตย์เอกพระยาสุนทรเทพกิจจารักษ์ (ทอง จันทรางศุ) ข้าหลวงจังหวัดร้อยเอ็ดเห็นว่า บึงพลาญชัย (เดิมใช้ว่าบึงพระลานชัย) ซึ่งตั้งอยู่ใจกลางเมืองร้อยเอ็ดตื้นเขิน ถ้าปล่อยทิ้งไว้บึงก็จะหมดสภาพไป จึงได้ชักชวนชาวบ้านจากทุกอำเภอ มาขุดลอกบึงเพื่อให้มีน้ำขังอยู่ได้ตลอดปี ได้ดำเนินการขุดลอกบึงทั้งกลางวันและกลางคืนอยู่ 2 ปี มีชาวบ้านมาร่วมขุดลอกบึงถึง 40,000 คน ต่อมาก็ได้มีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง จนเป็นมรดกที่สำคัญของจังหวัดร้อยเอ็ดมาตราบเท่าทุกวันนี้






บึงพลาญชัย หมายถึงที่ลุ่มแอ่งน้ำ ที่มีน้ำขังตลอดปีเป็นบริเวณกว้างใหญ่เหมาะสมและมีประโยชน์อย่างยิ่ง เป็นที่ลุ่มมีตาน้ำผุดตั้งแต่ก่อนสร้างเมืองร้อยเอ็ด ยุคทวารวดี
บึง หมายถึง ที่ลุ่มแอ่งน้ำ มีน้ำขังตลอดปี
พลาญ หมายถึง บริเวณ, สนาม, ลานกว้างใหญ่ เป็นคำกร่อนจาก (ราชาศัพท์) พระลาน บางที่สะกดว่า พะลาน, พลาน
ชัย แปลว่า ชนะ, เหมาะสม, มีประโยชน์


เหตุที่เขียน พระลาน เป็นพลาญ หรือพลาน เนื่องมาจากกลุ่มไท-ไต รัวลิ้นตัว ร ไม่ได้ ฉะนั้นเมื่อจะออกเสียงคำว่าพระลาน โดยพยายามคงเสียง ร ไว้ ก็ต้องเร่ไปหา ล แทน
แต่คำว่า พระลาน มีเสียง ล ตามมาในวลีว่า ลาน เลยควบเสียงเป็น พลาน



      ขอขอบคุณข้อมูลและภาพประกอบจาก http://mylakeroiet.blogspot.com/2013/02/blog-post_1091.html